Secondary Bond
ซื้อ-ขายหุ้นกู้ผ่านตลาดรอง กับ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ดีอย่างไร
KEYWORDS
• ธนาคาร คัดสรรหุ้นกู้คุณภาพดี หลากหลาย ให้เลือกในทุกๆ วัน เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า • ธนาคารมีบริการรับซื้อหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด
เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับลูกค้า เพื่อให้สามารถเพิ่มโอกาสการลงทุน หุ้นกู้ใหม่ๆ ได้ทุกวัน • ธนาคารมีช่องทางให้ลูกค้าลงทุนหุ้นกู้ตลาดรองแบบไม่ยุ่งยาก
ผ่านแอปพลิเคชัน CIMB THAI Digital Banking หรือ ทุกสาขาใกล้บ้าน • ธนาคารมีผู้แนะนำการลงทุนคอยให้คำปรึกษา ประจำอยู่ทุกๆ
สาขาของธนาคาร เพื่อให้ลูกค้าลงทุนหุ้นกู้ได้อย่างมั่นใจ
Secondary Bond
ตลาดแรก และ ตลาดรอง ต่างกันอย่างไร
KEYWORDS
ตลาดแรก คือ ตลาดที่ลูกค้าซื้อตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารหนี้ออกขายตราสารหนี้นั้นๆเป็นครั้งแรก
ตลาดรอง คือ ตลาดการซื้อขายตราสารหนี้ ที่ผ่านการนำเสนอขายในตลาดแรกมาแล้ว โดยเป็นธุรกรรมระหว่างนักลงทุนด้วยกันเอง
ซึ่งมีธนาคารเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
Secondary Bond
ลูกค้าทุกคนสามารถซื้อหุ้นกู้ตลาดรอง ได้หรือไม่
KEYWORDS
คุณสมบัติของผู้ซื้อหุ้นกู้ และเงื่อนไข ข้อกำหนดของการออกและเสนอขาย อาจมีความแตกต่างกันไป ลูกค้าสามารถติดต่อสาขาของธนาคาร
เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
Secondary Bond
ใครสามารถซื้อหุ้นกู้ตลาดรองได้บ้าง
KEYWORDS
บุคคลทั่วไปที่มีสัญชาติไทย (ผู้เยาว์ไม่สามารถซื้อหุ้นกู้ได้) โดยผู้ซื้อต้องมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ณ วันที่จะทำรายการ
Secondary Bond
คุณสมบัติของนักลงทุนในการซื้อหุ้นกู้ ที่เปิดขายเฉพาะนักลงทุนรายใหญ่
KEYWORDS
กรณีบุคคลธรรมดา ซึ่งนับรวมกับคู่สมรสแล้วมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
ก) มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ สินทรัพย์ดังกล่าวไม่นับรวมมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่พักอาศัยประจำของบุคคลนั้น)
หรือ
ข) มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป หรือ
ค) มีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมเงินฝาก) หรือ
ง) มีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เมื่อนับรวมกับเงินฝากแล้ว มีตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป
กรณีนิติบุคคล ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
ก) มีส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือ
ข) มีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว ตั้งแต่
20 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมเงินฝาก) หรือ
ค) มีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว เมื่อนับรวมกับเงินฝากแล้ว
มีตั้งแต่ 40 ล้านบาทขึ้นไป
Secondary Bond
จะลงทุนในตราสารหนี้ต้องพิจารณาอะไรบ้าง
KEYWORDS
ลูกค้าควรศึกษาข้อมูล รายละเอียดของตราสารนั้นๆ ก่อนการลงทุน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ท่านควรตรวจสอบก่อนตัดสินใจลงทุน
เช่น ผู้ออกตราสาร (Issuer), อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating), อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate), อัตราผลตอบแทนจนครบกำหนด
(Yield to Maturity), ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน (Time to Maturity), ข้อสัญญา (Covenants) และสิทธิแฝง (Options) ของตราสารหนี้นั้นๆ
Secondary Bond
Credit Rating หมายความว่าอย่างไร
KEYWORDS
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเปรียบเสมือนนักชิมหรือผู้ตรวจสอบคุณภาพของอาหารก่อนจะถึงมือผู้บริโภค (นักลงทุน) ถ้าอาหารชนิดนั้นมีคุณภาพดีและปลอดภัยจะให้เกรดสูง
AAA ลงไปถึงคุณภาพต่ำจะให้เกรด D
อย่างไรก็ตามสำหรับพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ถือเป็นตราสารหนี้ที่ปราศจากความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk
free) หรือถือว่าเป็นเครดิตความน่าเชื่อถือระดับประเทศนั่นเอง (Sovereign)
กล่าวคือตราสารหนี้ที่อันดับเครดิตยิ่งสูง ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ก็ยิ่งต่ำ อันดับความน่าเชื่อถือจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม
คือ Investment Grade หรือ กลุ่มน่าลงทุน (AAA ถึง BBB-) และ Speculative Grade หรือกลุ่มเก็งกำไร (BB+- ลงไปจนถึง
D)
Secondary Bond
ใครเป็นผู้จัดทำ Credit Rating
KEYWORDS
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies) คือสถาบันหรือบริษัทผู้ให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรและตราสารหนี้
ในปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันประเภทนี้จัดตั้งขึ้นแล้ว คือ บริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด (TRIS Rating) และบริษัท ฟิทซ์
เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (Fitch Ratings)
Secondary Bond
ดอกเบี้ย (Coupon) และ ผลตอบแทน (Yield to Maturity) แตกต่างกันอย่างไร
KEYWORDS
ดอกเบี้ย หรือ Coupon คือจำนวนเงินที่ผู้ออก สัญญาว่าจะจ่ายให้กับผู้ถือตราสาร เป็นอัตราคงที่จนถึงวันกำหนดไถ่ถอน ซึ่งคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
(Coupon Rate) กับมูลค่าที่ตราไว้ (Face Value) โดยจ่ายด้วยจำนวนคงที่
กรณีนักลงทุนมีการซื้อขายสับเปลี่ยนในตลาดรอง ราคาที่ซื้อขาย(Market Price) ซึ่งอาจจะมีค่าไม่เท่ากับมูลค่าที่ตราไว้
กล่าวคือมีมูลค่ามากหรือน้อยกว่าก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพตลาดขณะนั้น ทำให้นักลงทุนต้องนำส่วนต่างของราคาของการลงทุนมาคิดในผลตอบแทนด้วย
ดังนั้นผลตอบแทน (Yield to Maturity) ก็คือผลตอบแทนรวม ที่รวมทั้งดอกเบี้ย และผลตอบแทนจากราคา ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่แท้จริงของการถือตราสารจนถึงวันครบกำหนด
Structured Debenture
ELN เหมาะกับนักลงทุนประเภทใด
KEYWORDS
-ผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอ
-ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่เลือกอ้างอิง
-ผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงในการรับคืนเงินลงทุนเป็นหุ้นได้
Structured Debenture
หากผู้ลงทุนต้องการลงทุน ELN ต้องทำอย่างไร
KEYWORDS
เปิดบัญชี ELN กับหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
FX / FCD
เริ่มต้นทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้อย่างไร
KEYWORDS
FX / FCD
ช่วงเวลาการให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ของธนาคาร
KEYWORDS
ท่านสามารถแลกเปลี่ยนเงิน ช่วงเวลา 8.30 น. - 15.30 น. ในทุกวันทำการ ที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา
FX / FCD
ช่องทางตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคาร
KEYWORDS
FX / FCD
สกุลเงินที่ธนาคารเปิดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
KEYWORDS
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทั้งสิ้น 15 สกุลเงิน ได้แก่
1.) ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD)
2.) ยูโร (EUR)
3.) ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP)
4.) ดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD)
5.) ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
6.) เยนญี่ปุ่น (JPY)
7.) มาเลเซีย ริงกิต (MYR)
8.) ดอลลาร์ฮ่องกง (HKD)
9.) สวิสฟรังก์ (CHF)
10.) หยวนจีน (CNY)
11.) ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD)
12.) ครูนาสวีเดน (SEK)
13.) รูเปียอินโดนีเซีย (IDR)
14.) โครนนอร์เวย์ (NOK)
15.) โครนเดนมาร์ก (DKK)
FX / FCD
วิธีการส่งเงินตราต่างประเทศผ่านธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
KEYWORDS
1.ผู้ขอโอนเงินเป็นสกุลงินตราต่างประเทศ ไปยังประเทศต่างๆ ต้องกรอกรายละเอียด ”ใบคำขอโอนเงินระหว่างประเทศ (Application for International
Remittance) “ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่
https://www.cimbthai.com/th/personal/products
2. กรณีโอนเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ไปต่างประเทศตั้งแต่ USD 50,000 หรือ เทียบเท่าจะต้องยื่น ”แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ”
และ ”เอกสารประกอบการทำธุรกรรม” ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
3. การแปลงค่าสกุลเงินบาทเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ธนาคารจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามที่ท่านตกลงไว้กับธนาคาร
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการโอนเงินตราต่างประเทศ เข้าบัญชีปลายทางจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเขตเวลาของประเทศผู้รับเงินปลายทาง
และเวลาทำการของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละประเทศ
5. ผู้สั่งโอนเงินตราต่างประเทศ สามารถขอแก้ไข หรือยกเลิกคำสั่งโอนเงินได้หากพบว่าข้อมูลผิดพลาด โดยผู้สั่งโอนเงินเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมการสื่อสาร
หรืออื่นๆ (ถ้ามี)
FX / FCD
วิธีการรับเงินตราต่างประเทศผ่านธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
KEYWORDS
ธนาคารให้บริการรับเงินโอนจากต่างประเทศตั้งแต่ USD 50,000 หรือ เทียบเท่าจะต้องยื่น โดยผู้รับเงินโอน จะต้องกรอกรายละเอียด
”แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” และ ”เอกสารประกอบการทำธุรกรรม” ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
FX / FCD
ค่าธรรมเนียมการโอนเงินตราต่างประเทศขาเข้า
KEYWORDS
ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนเงินตราต่างประเทศ ขาเข้า ในอัตรา 0.25% ของยอดเงินโอนเข้า โดยกำหนดค่ามีธรรมเนียมขึ้นต่ำเท่ากับ
200 บาทต่อธุรกรรมและสูงสุดเท่ากับ 500 บาทต่อธุรกรรม ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.cimbthai.com/th/personal/products
FX / FCD
ค่าธรรมเนียมการโอนเงินตราต่างประเทศขาออก
KEYWORDS
ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมสำหรับการโอนเงินตราต่างประเทศขาออกผ่านบริการSwift Code ในอัตราคงที่เท่ากับ 500 บาทต่อธุรกรรม
ไม่ว่าโอนเงินไปยังประเทศใดก็ตาม กรณีโอนเงินผ่านบริการ Speed Send ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมเท่ากับ 75 บาทต่อธุรกรรม
หรับธุรกรรมระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.cimbthai.com/th/personal/products
FX / FCD
เอกสารการเปิดบัญชีเงินฝากที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
KEYWORDS
สำหรับลูกค้าที่มีสัญชาติไทย
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ที่หน่วยงานราชการเป็นผู้ออก ที่มีเลขประจำตัวประชาชนและรูปถ่าย ที่ยังไม่หมดอายุ
2.ทะเบียนบ้าน (กรณีบัตรแสดงตนไม่แสดงที่อยู่อาศัย)
สำหรับลูกค้าต่างชาติ
1.หนังสือเดินทางต่างชาติ (Passport) ที่ยังไม่หมดอายุ
2.เอกสารอื่นๆ ที่ธนาคารกำหนด
FX / FCD
มูลค่าเงินฝากขั้นต่ำสำหรับบัญชีเงินฝากที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
KEYWORDS
สำหรับบัญชีออมทรัพย์มูลค่าขั้นต่ำของเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ คือ 500 USD หรือ เที่ยบเท่า ตามสกุลเงินที่จะต้องการฝากเงินของท่าน
สำหรับบัญชีฝากประจำ
มูลค่าขั้นต่ำของเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำ คือ 2,000 USD
FX / FCD
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ
KEYWORDS
FX / FCD
การคำนวณภาษีของดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
KEYWORDS
ภาษีของดอกเบี้ยเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการฝากเงินในบัญชีสกุลบาท
- สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีด้วยอัตรา 15% จากยอดเงินฝาก
- สำหรับลูกค้านิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีด้วยอัตรา 1% จากยอดเงินฝาก
FX / FCD
อัตราค่าธรรมเนียมการฝากถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินฝากที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
KEYWORDS
Insurance
ผู้เอาประกันภัยจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองหรือไม่
KEYWORDS
สำหรับโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายคู่สัญญา การเรียกร้องสินไหมสามารถทำได้ผ่านบริการแฟกซ์เคลม(Fax Claim) โดยผู้เอาประกันภัยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย
แต่อาจต้องชำระเงินเฉพาะส่วนเกินความคุ้มครอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการ พิจารณาของบริษัท กรณีที่อยู่นอกเวลาทำการหรือข้อมูลไม่ชัดเจนหรือบริษัทไม่สามารถสื่อสารกับโรงพยาบาลเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้
ผู้ เอาประกันภัยจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด แล้วส่งเอกสารมาเรียกร้องสินไหมไปยังบริษัทประกัน สำหรับโรงพยาบาลนอกเครือข่ายคู่สัญญา
ผู้เอาประกันภัยต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดแล้วส่งเอกสารมา เรียกร้องสินไหม
Insurance
หากในขณะที่ทำประกันไม่พบว่ามีโรคประจำตัว แต่ต่อมาตรวจพบเป็นโรคใดโรคหนึ่ง จะมีผลต่อการต่อสัญญาหรือไม่
KEYWORDS
หากเป็นสัญญาความคุ้มครองหลัก ไม่มีผลต่อการต่อสัญญาในปีต่อไป
หากเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่เป็นสัญญาปีต่อปี ในหมวดของอุบัติเหตุหรือสุขภาพ อาจจะมีผลต่อเบี้ยปีต่ออายุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับประวัติการเคลมและเงือนไขของบริษัท
Insurance
ต้องตรวจหรือตอบคำถามสุขภาพหรือไม่
KEYWORDS
ผู้ขอเอาประกันภัยต้องแถลงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของตนในใบคำขอให้แก่บริษัททราบตามความเป็นจริง โดยการขอ ตรวจสุขภาพจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการพิจารณารับประกันภัยของบริษัท
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสัญญาประกันภัยชีวิตหลัก
Insurance
ทำไมต้องตรวจสุขภาพหรือเปิดเผยข้อมูลสุขภาพ
KEYWORDS
ปัญหาสุขภาพ และประวัติการเจ็บป่วยมีผลต่ออัตรามรณะที่สูงขึ้นกว่าปกติเมื่อเทียบกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ การ ตรวจสุขภาพหรือการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพตามความเป็นจริงจะทำให้บริษัทประเมินความเสี่ยงของข้อมูลสุขภาพได้
อย่างถูกต้องเหมาะสม
Insurance
เบี้ยประกันของแบบประกันชีวิตนี้ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
KEYWORDS
สามารถ นำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 ซึ่งประกาศ ณ
วันที่ 30 ธ.ค.51
Insurance
ระยะเวลาผ่อนผันกรมธรรม์ถึงกำหนดชำระวันไหน และมีเวลาในการชำระได้ถึงเมื่อใด
KEYWORDS
วันที่ถึงกำหนดชำระของกรมธรรม์ของลูกค้าจะแสดงปรากฎในบนใบแจ้งเตือน โดยมีระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยได้ ภายใน 31 วันนับจากวันถึงกำหนด
โดยถือว่ากรมธรรม์ยังมีผลบังคับอยู่ได้รับความคุ้มครองตามปกติ
Insurance
หากสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ผ่านช่องทางใด
KEYWORDS
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา และ CIMB Thai Care Center 0-2626-7777
Insurance
ใครควรทำประกันคุ้มครองสินเชื่อระหว่างผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม
KEYWORDS
คนที่ควรทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ คือ คนที่เป็นคนชำระค่างวดจริงๆ หรือคนที่หารายได้หลักของครอบครัว ของบ้านที่กู้กับธนาคาร
และในปัจจุบันเปิดโอกาสให้ผู้กู้ร่วมแต่ละคนทำประกันที่คุ้มครองสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้กู้หลักได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดอะไรขึ้นกับอีกคนหนึ่ง
ผู้กู้ร่วมก็หมดภาระการผ่อนเช่นเดียวกัน
Insurance
ถ้าไม่ทำประกันมีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อหรือไม่
KEYWORDS
การทำประกันหรือไม่นั้น ไม่มีผลในการอนุมัติสินเชื่อ อยู่ที่ลูกค้าเลือกที่จะทำหรือไม่ทำประกันก้อได้
Insurance
แบบประกันคุ้มครองสินเชื่อแบบไหนนำไปลดหย่อนภาษีได้
KEYWORDS
เบี้ยประกันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท ตามเกณฑ์สรรพากร : หากทำประกันคุ้มครองสินเชื่อที่มีระยะเวลาเอาประกันตั้งแต่
10 ปีขึ้นไป ผู้เอาประกันสามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ การจ่ายเบี้ยประกันจะจ่ายเพียงครั้งเดียวในปีแรก
ดังนั้น เบี้ยประกันดังกล่าว จึงสามารถนำไปลดหย่อนภาษีในปีแรกที่จ่ายเบี้ยประกันได้เท่านั้น
Insurance
ไม่มีภาระหนี้กับทางธนาคารกรมธรรม์จะต้องทำอย่างไร
KEYWORDS
ชำระหนี้หมดก่อน ขอเวนกรมธรรม์ได้ หากผู้กู้ชำระหนี้หมดก่อนระยะเวลาคุ้มครองของประกัน ผู้กู้สามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันได้ตามมูลค่าเงินสดคงเหลือ่ในกรมธรรม์
หรือหากไม่ได้ทำเรื่องขอเวนคืนกรมธรรม์ กรณีผู้กู้เสียชีวิตก่อนกรมธรรม์หมดอายุ ผู้รับผลประโยชน์สามารถขอรับสินไหมทดแทนคืนได้
โดยจำนวนความคุ้มครองจะเท่ากับตารางความคุ้มครองของบริษัทประกัน
Insurance
แบบประกัน Universal Life ต่างกับ แบบประกัน Unit Linked อย่างไร
KEYWORDS
ประกันชีวิตแบบยูนิตลิงค์ ผู้เอาประกันเป็นคนวางแผนการลงทุนและรับความเสี่ยงเองจากเบี้ยประกันที่ลงทุน ในกองทุนที่บริษัทประกันคัดเลือกมาให้แล้ว
ซึ่งไม่มีการรับรองผลตอบแทน โดยผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนที่เราเลือกไว้เอง
ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซล ไลฟ์ เบี้ยประกันที่ได้ บริษัทประกันจะเป็นผู้บริหารการลงทุนเอง มีการรับรองผลตอบแทนขั้นต่ำ
และให้ความคุ้มครองชีวิตไปพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นการเอาประกันแบบสะสมทรัพย์กับประกันแบบยูนิตลิงค์มารวมไว้ด้วยกัน
Insurance
ใครบ้างที่เหมาะกับประกันชีวิตควบการลงทุน
KEYWORDS
- ผู้ที่ต้องการความยืดหยุ่นทั้งในเรื่องทุนประกันชีวิตและเบี้ยประกัน
- ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองควบคู่กับการลงทุน
- ผู้ที่ต้องการได้รับผลตอบแทนคาดหวังที่สูงกว่าประกันชีวิตแบบดั้งเดิม
- ผู้ที่ต้องการความโปร่งใสเรื่องค่าใช้จ่าย
Insurance
แบบประกัน Universal Life คืออะไร
KEYWORDS
ประกันชีวิตยูนิเวอร์แซล ไลฟ์ เป็นประกันชีวิตที่ออกแบบให้มีระยะเวลาคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยนำเงินของผู้ถือกรมธรรม์ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง
โดยเฉลี่ยในเกณฑ์ไม่สูงมาก เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก ควบคู่ไปกับการให้ความคุ้มครองชีวิตแบบกรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วๆไป
ผู้เอาประกันจะได้ทั้งผลตอบแทนและยังได้ความคุ้มครองด้วย
Insurance
แบบประกัน ยูนิตลิงค์ คืออะไร
KEYWORDS
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นทั้งประกันชีวิต (ความคุ้มครอง) และให้โอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการ ลงทุนในกองทุนรวม และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้อิสระในการบริหารและออกแบบกรมธรรม์ด้วยตัวผู้ถือกรมธรรม์เอง
ในขณะที่ประกันชีวิตแบบดั้งเดิมจะถูกกำหนดไว้แน่นอน เพราะบริษัทประกัน รับความเสี่ยงไว้เอง ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนของเบี้ยเพื่อความคุ้มครองและการลงทุนได้
Insurance
จุดเด่นของแบบประกันยูนิตลิงค์คืออะไร
KEYWORDS
มีความยืดหยุ่นสูง สามารถกำหนดระยะเวลาชำระเบี้ย ระยะเวลาความคุ้มครอง และปรับเพิ่มหรือลดทุนประกันชีวิตได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม
-สามารถบริหารการลงทุนได้ด้วยตนเอง
-ถอนเงินจากมูลค่าเงินลงทุนได้
-มีโอกาสได้รับผลตอบแทนคาดหวังที่สูงกว่าประกันชีวิตแบบสามัญ
-สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้วยตัวเอง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
Insurance
เบี้ยประกันของแบบประกันยูนิตลิงค์ลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมดหรือไม่
KEYWORDS
ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท ตามเกณฑ์สรรพากร เฉพาะในส่วนของค่าการประกันภัย, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย และค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์
Insurance
ประกันโรคมะเร็งคืออะไร และ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
KEYWORDS
ประกันมะเร็งคือประกันที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุ้มครองในกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการรักษา เช่น
การทำเคมีบำบัด การผ่าตัด และ รังสีรักษา ซึ่งแตกต่างกันไปตามแบบประกันที่เลือก และยังได้รับเงินค่าสินไหมเป็นหลักประกันให้คนในครอบครัวกรณีตรวจพบมะเร็ง
Insurance
ประกันอุบัติเหตุคืออะไร และ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
KEYWORDS
การประกันภัยอุบัติเหตุ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย
และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ
หรือเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย
หากผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
Insurance
การประกันสุขภาพคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
KEYWORDS
การทำประกันสุขภาพเป็นการให้ความอุ่นใจในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หากท่านมีการเจ็บป่วยบริษัทประกันจะช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลแทนท่าน
โดยที่ท่านไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นทุกปี ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย
หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุก็ตาม
Insurance
เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
KEYWORDS
เบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้ตัวเอง สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดไม่เกินปีละ 25,000 บาท ทั้งนี้เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทุกกรมธรรม์มาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกินปีละ
100,000 บาท โดยเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร
Insurance
ประกันอัคคีภัยให้ความคุ้มครองครอบคลุมอะไรบ้าง
KEYWORDS
ให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) และทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยและที่ไม่ระบุในข้อยกเว้น
ของผู้เอาประกันภัย สำหรับความเสียหายที่เกิดจาก 1)ไฟไหม้ 2) ฟ้าผ่า 3) ระเบิด 4) ภัยจากการเฉี่ยว และหรือการชนของยานพาหนะ
หรือสัตว์พาหนะ 5) ภัยจากอากาศยาน และหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน 6) ภัยเนื่องจากน้ำ 7) ภัยจากลมพายุ 8) ภัยจากน้ำท่วม
9) ภัยจากแผ่นดินไหว และ 10) ภัยจากลูกเห็บ และ กรณีประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ขยายความคุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว
กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายอันเนื่องจากภัยตามข้อ 1) – 6)
Insurance
ประกันอัคคีภัยมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
KEYWORDS
ให้ความคุ้มครองหากเกิดอัคคีภัย หรือ ภัยธรรมชาติ เมื่อเกิดความเสียหายกับทรัพย์สินที่ทำประกันไว้ จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรเทาความเสียหายหรือลดภาระค่าใช้จ่าย
โดยความคุ้มครองคุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับค่าเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระ
Insurance
ประกันรถยนต์ประเภท 1 คุ้มครองครอบคลุมอะไรบ้าง
KEYWORDS
ประกันรถยนต์ประเภท 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน (ตัวรถยนต์หรือทรัพย์สินอื่นๆ) ทั้งของคู่กรณีที่เราทำให้เกิดความเสียหาย
และ ยังคุ้มครองตัวรถยนต์ของผู้เอาประกัน ทั้งในกรณีที่มีคู่กรณีหรือว่าไม่มีคู่กรณี และยังคุ้มครองรถกรณีรถยนต์สูญหาย
เสียหายจากไฟไหม้ และ ความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม อีกด้วย
Insurance
ใครควรทำประกันรถยนต์ประเภท 1
KEYWORDS
ผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ขับขี่มากและมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูง เหมาะกับผู้ที่ใช้รถยนต์ราคาแพง หรือรถใหม่ที่หากเกิดความเสียหายจะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถสูง
นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ เดินทางเป็นประจำที่ต้องการความคุ้มครองมากเป็นพิเศษ
Insurance
ประกันรถยนต์ประเภท 2+ คุ้มครองอะไรบ้าง มีความเหมือนและแตกต่างจากประกันรถยนต์ประเภท 1 อย่างไร และ ประเภท 3+ อย่างไร
KEYWORDS
ประกันรถยนต์ประเภท 2+ และ 3+ จะคุ้มครองในกรณีที่มีคู่กรณีเป็นรถชนรถเท่านั้น ขณะที่ประกัน รถยนต์ประเภท 1 คุ้มครองทั้งกรณีมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี
ประกันรถยนต์ประเภท 2+ คุ้มครองทั้งกรณีรถสูญหาย ไฟไหม้ และ น้ำท่วม ส่วนประกันภัยรถยนต์ประเภท 3+ จะยกเว้นการคุ้มครองกรณีรถสูญหายและไฟไหม้
แต่จะคุ้มครองเฉพาะกรณีรถโดนน้ำท่วมเท่านั้น
Insurance
นอกจากความคุ้มครองที่ได้จากการทำประกันรถยนต์ซีไอเอ็มบี ไทย ตามเงื่อนไขกรมธรรม์แล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์ อื่นๆ อีกหรือไม่
KEYWORDS
เมื่อทำประกันรถยนต์ ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกประเภท จะได้รับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมงฟรีตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น
บริการ รถยก-รถลาก บริการช่างซ่อมรถยนต์ฉุกเฉินกรณีรถเสีย บริการเติม น้ำมันฉุกเฉิน และ บริการจองโรงแรม จองรถเช่า
เป็นต้น
Offshore
ลูกค้าสามารถเริ่มลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้อย่างไร
KEYWORDS
ลูกค้าสามารถติดต่อสาขาหรือผู้แนะนำการลงทุน เพื่อขอข้อมูล และแจ้งความประสงค์ใช้บริการ Global Investment Platform (Investment
Agent Business-บริการตัวแทนการลงทุนและผู้รับฝากทรัพย์สิน)
Offshore
ลูกค้าที่สามารถลงทุนในการซื้อสินทรัพย์ต่างประเทศ ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไร
KEYWORDS
คุณสมบัติเบื้องต้นของลูกค้าที่สนใจในการซื้อสินทรัพย์ต่างประเทศ จะเป็นไปตามแต่ละประเภทชนิดสินทรัพย์ที่ลงทุน เช่น การลงทุนในหุ้นกู้ในประเทศต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
หรืออายุ 20 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือชี้ชวน หรือสอบถามจากสาขาหรือผู้แนะนำการลงทุนของท่าน
Offshore
การลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศมีมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำหรือไม่
KEYWORDS
มูลค่าขั้นต่ำในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ มีความแตกต่างกันในแต่ละหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถศึกษาข้อมูลเหล่านี้ได้จากหนังสือชี้ชวน
หรือสอบถามจากสาขาหรือผู้แนะนำการลงทุนของท่าน
Offshore
การเตรียมเงินตราต่างประเทศสำหรับการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องทำอย่างไร
KEYWORDS
1. กรณีลูกค้ามีบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย แล้วสามารถแจ้งความประสงค์กับพนักงานต่อสาขา หรือผู้ดูแลการลงทุนของท่าน
เพื่อโอนเงินสกุลต่างประเทศนั้น เข้าบัญชีเพื่อการลงทุน
2. กรณีลูกค้าไม่มีบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ กับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กรุณาติดต่อสาขา หรือผู้ดูแลการลงทุนของท่าน
เพื่อซื้อเงินตราต่างประเทศกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เพื่อโอนเข้าบัญชีเพื่อการลงทุน
Offshore
ความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับการลงทุนต่างประเทศมีอะไรบ้าง
KEYWORDS
การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศ มีความเสี่ยงเบื้องต้นเกี่ยวกับเสถียรภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
การเมือง การเงิน กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศ มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งมีผลทำให้อาจสูญเสียเงินลงทุนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนได้ หรืออาจไม่ได้รับชำระเงินลงทุน/ดอกเบี้ย คืนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ดังนั้นลูกค้าผู้สนใจลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศ ต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียดการลงทุน
รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความแตกต่างกันไป จากหนังสือชี้ชวน หรือสอบถามจากสาขาหรือผู้แนะนำการลงทุนของท่าน
Investment
บริการรับฝากทรัพย์สิน หรือ Custodian มีค่าธรรมเนียม และ/หรือค่าใช้จ่ายในการใช้บริการหรือไม่
KEYWORDS
ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบริการรับฝากทรัพย์สิน (Custodian Fee) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.07 ต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ลูกค้าฝากไว้กับธนาคร
โดยมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำไม่เกิน 1,000 บาท / เดือน และ ค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ต่อรายการ (Transaction Fee)
ไม่เกิน 1,000 บาท / รายการ โดยอ้างอิงตามประกาศธนาคาร และอาจมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ โดยธนาคารจะเก็บตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น
Investment
บริการรับฝากสินทรัพย์มีวิธีการดำเนินงานอย่างไร
KEYWORDS
บริการรับฝากทรัพย์สิน หมายถึง ธนาคารทำหน้าที่เป็นผู้รับฝาก ชำระราคาซื้อขายของทรัพย์สิน ดูแลและติดตามสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์
จัดทำบัญชีและทะเบียนทรัพย์สิน ตรวจสอบและรับรองมูลค่าของทรัพย์สินที่ลงทุน รวมถึงจัดทำรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับลูกค้า
ซึ่งธนาคารสามารถรับฝากทรัพย์สินในประเทศ และต่างประเทศที่สำนักงาน ก.ล.ต.หรือ ธปท. อนุญาตให้ธนาคารให้บริการแก่ลูกค้าได้
Investment
หากลูกค้าฝากเงินในบัญชีเพื่อการลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยหรือไม่
KEYWORDS
กรณีเงินฝากเงินในบัญชีเพื่อการลงทุน ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราในประกาศของธนาคาร อย่างไรก็ตาม ลูกค้าจะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากต่างประเทศ
กรณีที่ดอกเบี้ยนั้นๆ อยู่ในบัญชีการลงทุนในต่างประเทศ
Investment
ลูกค้าจะทราบมูลค่าคงค้างของทรัพย์สินสุทธิในบัญชีเพื่อการลงทุนได้อย่างไร
KEYWORDS
หากลูกค้าใช้บริการผู้รับฝากสินทรัพย์ ธนาคารจะจัดส่งรายงานสรุปยอดทรัพย์สินสุทธิ ทุกสิ้นเดือน หรือลูกค้าสามารถติดต่อสาขาหรือผู้ดูแลการลงทุนของท่านเพื่อรับรายงานยอดคงค้าง
Investment
ตัวแทนการลงทุนคืออะไร
KEYWORDS
บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการได้ภายใต้ขอบเขตของใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และตามที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในหลักทรัพย์ และ/หรือสินทรัพย์ และอนุพันธ์ที่ลูกค้ามอบหมาย
Investment
บัญชีเพื่อการลงทุน คืออะไร
KEYWORDS
บัญชีเพื่อการลงทุน คือบัญชีฝากหลักทรัพย์ และ/หรือบัญชีเงินฝากที่เป็นสกุลเงินบาท และ/หรือบัญชีเงินฝากที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
(Foreign Currency Deposit หรือ FCD) ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะการลงทุนหรือการทำธุรกรรมทุกประเภทที่กำหนดไว้ ตามที่ตัวแทนการลงทุนเปิดในชื่อของตัวแทนการลงทุน
เพื่อลูกค้า
BondService
ช่องทางการซื้อหุ้นกู้ตลาดรองกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
KEYWORDS
ปัจจุบันลูกค้าของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สามารถซื้อหุ้นกู้ตลาดรองผ่านธนาคารได้ 2 ช่องทาง คือสาขาของธนาคาร และผ่านแอปพลิเคชัน
CIMB THAI Digital Banking
BondService
เอกสารที่ลูกค้าต้องเตรียมสำหรับซื้อหุ้นกู้ตลาดรองกับธนาคาร
KEYWORDS
สำหรับบุคคลธรรมดา :
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาหน้าสมุดบัญชี
สำหรับนิติบุคคล :
1. รายงานการประชุม วาระที่อนุมัติให้ทำธุรกรรมทางการเงิน
2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลอายุไม่เกิน 1 เดือน
3. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับล่าสุด (บมจ.5)
4. สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
5. สำเนาหน้าสมุดบัญชี
BondService
สามารถติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นกู้ตลาดรองที่ธนาคารมีนำเสนอประจำวันได้จากช่องทางใด
KEYWORDS
ท่านสามารถติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นกู้ตลาดรองที่ธนาคารมีนำเสนอได้ที่ LINE และ Facebook โดยค้นหาคำว่า “Wealth
Advisory by CIMB Thai Bank” หรือขอติดต่อสาขาของธนาคาร
BondService
ช่องทางการซื้อหุ้นกู้ตลาดรองกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
KEYWORDS
ปัจจุบันลูกค้าของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สามารถขายหุ้นกู้ในตลาดรองผ่านธนาคารได้โดยติดต่อสาขาของธนาคาร
BondService
เอกสารที่ลูกค้าต้องเตรียม สำหรับขายหุ้นกู้ตลาดรองกับธนาคาร
KEYWORDS
สำหรับบุคคลธรรมดา :
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาหน้าสมุดบัญชี
3. ใบหุ้นกู้ตัวจริง
สำหรับนิติบุคคล :
1. รายงานการประชุม วาระที่อนุมัติให้ทำธุรกรรมทางการเงิน
2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลอายุไม่เกิน 1 เดือน
3. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับล่าสุด (บมจ.5)
4. สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
5. สำเนาหน้าสมุดบัญชี
6. ใบหุ้นกู้ตัวจริง
BondService
ไม่ได้เป็นลูกค้าและไม่มีบัญชีกับธนาคาร สามารถขายหุ้นกู้ได้หรือไม่
KEYWORDS
ท่านสามารถเปิดบัญชีเงินฝากผ่านสาขา หรือ CIMBTHAI Digital Banking เพื่อใช้สำหรับรับเงินจากการขายหุ้นกู้ตลาดรองผ่านธนาคาร
กรณีที่ท่านยังไม่ประสงค์เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร สามารถแสดงสมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารอื่นๆ ที่ท่านต้องการให้ธนาคารนำฝากเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นกู้ตลาดรองผ่านธนาคาร
โดยธนาคารอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างธนาคาร โดยหักเงินออกจากเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นกู้ตลาดรองผ่านธนาคาร
BondService
เวลาทำการสำหรับทำธุรกรรมซื้อหรือขาย ของแต่ละช่องทาง
KEYWORDS
สำหรับรายการซื้อและขายผ่านสาขา สามารถติดต่อได้ในวันทำการของสาขา โดยตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
https://www.cimbthai.com/th/personal/ สำหรับรายการซื้อผ่านแอปพลิเคชัน CIMB THAI Digital Banking สามารถทำรายการได้ในวันจันทร์-ศุกร์
เวลา 8.30 น. -15.30 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
BondService
นักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษี ในกรณีต่อไปนี้ภาษีที่เกี่ยวข้อง
KEYWORDS
สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา
1. ภาษีของดอกเบี้ยที่ได้รับ (Coupon) จากการถือครองหุ้นกู้
กรณีที่ท่านได้รับดอกเบี้ยในแต่ละงวดของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ถือไว้ ท่านจะต้องถูกภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15%
จากมูลค่าของดอกเบี้ยที่ได้รับ
กรณีซื้อตั๋วเงินคลังหรือตราสารหนี้ระยะสั้นในราคาส่วนลด ท่านจะต้องชำระภาษีในอัตรา 15% ของส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่ตราไว้กับราคาที่ซื้อ
เช่น ตั๋วเงินคลังมีมูลค่าที่ตราไว้ 1,000 บาทต่อหน่วย ซื้อจำนวน 1,000 หน่วย ในราคา 990,000 บาท ท่านต้องชำระภาษีในอัตรา
15% ของ 10,000 บาท คือ 1,500 บาท
2. ภาษีจาก Capital gain ได้แก่
กรณีที่ท่านนำพันธบัตรหรือหุ้นกู้มาขาย ในราคาที่สูงกว่าราคาต้นทุน ท่านจะต้องถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%
ของกำไรที่ได้รับ เช่น ราคาต้นทุนของพันธบัตรคือ 100,000 บาท ต่อมาขายพันธบัตรได้ในราคา 110,000 บาท ท่านต้องชำระภาษีในอัตรา
15% ของ 10,000 บาท คือ 1,500 บาท